2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายใน จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงความสามารถหรือความเป็นตัวตนของหมู่บ้าน
(1) จุดอ่อน คือ
ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(1.1) ประชาชนขาดความสามัคคี
(1.2) ครอบครัวแยกกันอยู่
(1.3) ผู้สูงอายุขาดการดูแลอย่างเหมาะสม
(1.4) เยาวชนติดสิ่งเสพติด
(๑.๕) ประชาชนยังขาดที่ดินทำกิน ต้องบุกรุกที่ดินป่าพรุ
(๑.๖)
ประชาชนบางกลุ่มยังขาดอาชีพที่มั่นคง
(๑.๗) การศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
• ด้านเศรษฐกิจ
-
พืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
-
รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
• ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และ
วัฒนธรรม)
-
เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่นิยมตามกระแสวัฒนธรรมต่างชาติเพิ่มมากขึ้น
-
ผู้สูงอายูและผู้ด้อยโอกาสยังได้รับการดูแลทางด้านสวัสดิการยังไม่ทั่วถึง
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
ทรัพยากรทางธรรมชาติเสื่อมโทรม
• ด้านการเมืองและบริหารจัดการ
-
ประชาชนในหมู่บ้านขาดความรู้เรื่องประชาธิปไตย ไม่กล้าแสดงออกในที่
ประชุม
เนื่องจากกลัวผู้อื่นไม่ชอบ ไม่พอใจที่นำเสนอผลงานนั้น
•
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
-
การคมนาคมภายในหมู่บ้านที่ใช้ถนนสายที่เป็นลูกรังยังไม่สะดวก
โดยเฉพาะ
ในช่วงฤดูฝน
-
มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตร
เนื่องจากขาดระบบชลประทาน
ทำให้การทำพืชไร่มีปัญหาในกรณีฝนทิ้ง
• ด้านสาธารณสุข
-
ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้
ความเข้าใจในการกำจัดขยะที่เป็นระบบและปลอดภัย
-
ในช่วงฤดูฝนประชาชนในหมู่บ้านต้องพบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ
(2)
จุดแข็ง คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น
(2.1) มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์
สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรได้เป็น
อย่างดี
(2.2)
ประชาชนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นนับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในศาสนา
วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
(2.3)
มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ศูนย์วิจัยป่าพรุสิริธร
(๒.๔)
มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
• ด้านเศรษฐกิจ
-
ประชาชนส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมีการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง
โดยเฉพาะการหาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มด้วยหลักการพึ่งตนเอง ทำเองขายเอง
ทำให้ได้รับผลกำไรเพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น เลี้ยงโคเนื้อ เลี้ยงไก่ หาสัตว์น้ำจากแห่งน้ำธรรมชาติมาบริโภค ปลูกพืชผักสวนครัว เพาะพันธุ์พืชสวนครัวจำพวกพริก
มะเขือต่างๆ ปลูกข้าวโพดหวาน
จำหน่ายตามตลาดนัด เป็นต้น
• ด้านสังคม (เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม)
- หมู่บ้านมีกองทุนหมู่บ้านที่มีการจัดสรรเงินส่วนหนึ่งเพื่อจัดเป็นสวัสดิการให้กับ
เด็ก
เยาวชน
ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสเด็กและเยาวชนของหมู่บ้านส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ในการศึกษาเล่าเรียน
• ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- หมู่บ้านมีลำห้วยไหลผ่านกลางหมู่บ้าน และมีการสร้างอ่างกักเก็บน้ำของกรม
ชลประทาน
ส่งผลทำให้ มีแหล่งน้ำสำหรับการทำการเกษตรของประชาชนในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น
• ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
- หมู่บ้านมีผู้นำชุมชนที่มีความสามัคคี มีจิตสาธารณะ และเสียสละ อุทิศตนเพื่อ
การพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง
และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
• ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
-
มีบ่อน้ำตื้น ใช้อุปโภคบริโภคทุกครัวเรือน
• ด้านสาธารณสุข
- ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย
หรือการออก
แรงออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพิ่มขึ้น
2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน
(1)
โอกาส
๑.
ในเขตพื้นที่ มีส่วนราชการที่หลากหลายสาขา
และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนา/บริการให้กับประชาชน
๒. มีงบประมาณช่วยเหลือ
กลุ่มอาชีพ เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบสามจังหวัดชายแดนใต้
๓.
มีเจ้าที่ทหารรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนในหมู่บ้าน
๔.นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ และเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๕.นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ
และเปิดโอกาส ในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถผู้นำในการบริหารจัดการชุมชน
๖. รัฐบาลกำหนดให้การพัฒนาสินค้า
OTOP
เป็นนโยบายเร่งด่วน และสำคัญ
๗. รัฐบาลมีนโยบายในการสนับสนุนเงินทุนให้กับหมู่บ้านในรูปของกทบ.และกองทุนสตรีฯ
2) อุปสรรค
(2.1) ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
(2.2) ปัญหาด้านงบประมาณในการพัฒนาตำบลที่ไม่เพียงพอ
(2.3) ปัญหาเรื่องระเบียบ กฎหมาย ข้อปฏิบัติ
ไม่สอดคล้องกับการบริหารงานแบบ
บูรณาการ
(2.4) ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
(2.5) ความขัดแย้งทางการเมืองระดับชาติส่งผลกระทบให้เกิดความขัดแย้งในทุกระดับ
นำมาซึ่งความแตกแยกในชุมชน
(2.6) การเลือกตั้งเป็นตัวสร้างปัญหาของความแตกแยกของกลุ่มคนในหมู่บ้านตามมา
(2.7) การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐมีความไม่ต่อเนื่อง
และมีการเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน
2.3 วิสัยทัศน์ (ทิศทางการพัฒนา)
พรุโต๊ะแดงแหล่งธรรมชาติ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนมีกิน มีใช้ พึ่งพาตนเองได้
ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการปกครองท้องที่ควบคู่คุณธรรม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
สนับสนุนศิลปวัฒนธรรมในหมู่บ้าน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ประชาชนส่วนใหญ่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4
ส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์
กลยุทธ์ ๑
จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความเข้าใจในหมู่บ้านเป็นประจำ
สม่ำเสมอ
กลยุทธ์ ๒
ส่งเสริมประเพณี
วัฒนธรรมภายในหมู่บ้าน
กลยุทธ์ ๓ ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ
ในหมู่บ้าน
กลยุทธ์ ๔
ปลูกฝังให้ทุกครัวเรือนปลูกผักกินเอง
เน้นปลอดสารพิษ
2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน
(CIA)
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน
การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว
ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำSWOT เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น